ข้อปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยติดเตียงมีแผล
- ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ หรือเปียกชื้น หากแผลชุ่มมากควรแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาล
- รับประทานอาหารให้ครบหมู่และพอเพียง ร่างกายจะได้รับน้ำ โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ เช่น วิตามินซี วิตามีนเอ วิตามีนอี เป็นต้น เพื่อสร้างเนื้อเยื่อและเสริมความแข็งแรงให้กับแผล
- หากเกิดอาการคันหรือแพ้พลาสเตอร์ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาล ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ผิวหนังรอบแผลช้ำถลอกเกิดการอักเสบติดเชื้อ ลุกลามขยายเป็นแผลกว้างได้
สารอาหาร 3 อย่าง ที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- โปรตีน
ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์ประสานยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน มีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ รวมถึงถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น ให้รับประทานเพิ่มจากปริมาณเดิมที่เคยรับประทานวันละ 2 ช้อนโต๊ะ
- วิตามินซี
ทำให้เส้นเลือดฝอยมีความแข็งแรง และไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ และช่วยในการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น วิตามินซีมีมากในผลไม้สดทุกชนิด พบมากในฝรั่ง มะละกอ ส้มต่างๆ สำหรับผักที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ พริกหวานสีแดง
- ธาตุสังกะสี
ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามินได้มากขึ้น กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น พบมากในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ตับ ชีส ถั่วเหลือง
ขอขอบคุณ
คู่มือจิตอาสาผู้สูงอายุ เพื่อสังคม
ชมรมเครือข่ายผู้สูงอายุคาทอลิกประเทศไทย