ระดับความเจ็บปวด..
ขณะที่ใส่และคาสายสวนปัสสาวะ
ความเป็นมาของปัญหา
การใส่และคาสายสวนปัสสาวะ เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด ช่วยบรรเทาอาการปวดถ่ายปัสสาวะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เอง และทำให้ทราบจำนวนปัสสาวะที่ออกมาทุก 1ชม. ในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต แต่ผู้ป่วยมีความกลัวและอาจเกร็งส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ใส่สายสวนปัสสาวะได้ลำบาก
ผลการวิจัย
- ระดับความเจ็บปวด พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง อาจเกิดจากแรงเสียดทาน และการใช้แรงดันขณะใส่ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ระยะเวลาที่ใช้เท่ากับ 83.54 วินาที หรือ ประมาณ 1 นาทีกับ 24 วินาที
- การเปรียบเทียบความเจ็บปวด
2.1 เพศชายและเพศหญิง มีคะแนนความเจ็บปวดในระดับปานกลาง โดยเพศชายมีคะแนนความเจ็บปวดมากกว่า เพราะมีท่อปัสสาวะที่ยาวกว่า โดยเฉลี่ยประมาณ 21 ซม. ในขณะในเพศหญิงมีความยาว โดยเฉลี่ยเพียง 3-4 ซม.
2.2 ผู้ป่วยเกือบทุกกลุ่มอายุ มีคะแนนความเจ็บปวดในระดับปานกลาง ยกเว้นกลุ่มอายุ 40 – 49 อยู่ในระดับน้อย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคน
2.3 ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ มีคะแนนความเจ็บปวดน้อยกว่า อาจเพราะเข้าใจ ขั้นตอนการสวนปัสสาวะ และคาดการณ์ความรู้สึกเจ็บปวดได้ดีกว่า ทำให้ความวิตกกังวลลดลง ทนต่อความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
2.4 ผู้ป่วยที่ใส่และคาสายสวนปัสสาวะ ขนาดเบอร์ 14 และเบอร์ 16 มีคะแนน ความเจ็บปวดในระดับปานกลาง ทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกัน และที่ได้รับการใส่จากบุคลากรประสบการณ์ต่างกันทางสถิติพบว่าไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
- บุคลากรทางการพยาบาล ควรมีการอธิบายเหตุผลความจำเป็น ขั้นตอนการใส่ให้ผู้ป่วยทราบ พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามปัญหา ช่วยให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลง ทำให้บรรเทาความเจ็บปวดได้ และควรเลือกใช้สายสวนปัสสาวะที่มีขนาดเล็กและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
- ควรมีการศึกษาวิจัยวิธีการช่วยลดความเจ็บปวด เช่น การให้ข้อมูล การใช้เทคนิค ผ่อนคลาย การเบี่ยงเบนความสนใจ
ขอขอบคุณเนื้อหา : วารสารสภาการพยาบาล
เรื่อง ระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะที่ใส่และ
คาสายสวนปัสสาวะ